วิทยาลัยการอาชีพกระบุรี

ระบบบริหารจัดการเว็บไซต์ งานศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
       Basic Concepts of Computer and Information Technology

ส่วนประกอบทางกายภาพของคอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวันและงานด้านต่างๆ เทคโนโลยีสารสนเทศกับสังคม
Basic physical make-up of a personal computer, computer and information network, computer applications in everyday life, information technology and society.

เนื้อหาความรู้ในโมดูลที่ 1
          1. บทนำ
              คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
              ชนิดของคอมพิวเตอร์
              การทำงานของคอมพิวเตอร์
              ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

           2. ฮาร์ดแวร์ Hardware
               หน่วยประมวลผลกลาง (CPU: Central Processing Unit)
               อุปกรณ์นำเข้า (Input devices)
               อุปกรณ์แสดงผล (Output devices)

           3. หน่วยความจำ Memory
               หน่วยความจำรอม (ROM) และ (RAM)
               DRAM (ดีแรม) และ SDRAM (เอสดีแรม) SIMM (ซิม)
               หน่วยความจำเสมือน (Virtual Memory)
               หน่วยความจำแคช (Memory Cache) และ บัส (Bus)
               หน่วยข้อมูลสำรอง

           4. ซอร์ฟแวร์ Software
               ชนิดของ Software

           5. คอมพิวเตอร์กับชีวิตประจำวันและงานด้านต่าง ๆ
               คอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา
               คอมพิวเตอร์ในงานวิศวกรรม
               คอมพิวเตอร์ในงานวิทยาศาสตร์
               คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ
               คอมพิวเตอร์ในงานธนาคาร
               คอมพิวเตอร์ในร้านค้าปลีก
               คอมพิวเตอร์ในวงการแพทย์
               คอมพิวเตอร์ในการคมนาคม และการสื่อสาร
               คอมพิวเตอร์ในงานด้านอุตสาหกรรม
               คอมพิวเตอร์ในวงราชการ

           6. เทคโนโลยีสารสนเทศกับสังคม
               การเปลี่ยนแปลงของโลก
               ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว
               ทรัพย์สินทางปัญญา

 

1. บทนำ

ในสภาวะการณ์ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทต่อการทำงานเป็นอย่างมาก ในบทเรียนนี้จะกล่าวถึงความหมาย ชนิด การทำงาน ของคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
 

1.1 คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

ในบทนี้จะกล่าวถึง ความหมายของคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ประโยชน์ที่มนุษย์นำมาใช้ด้านต่างๆ
 

1.1.1 ความหมายของของพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ หมายถึง อุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจำข้อมูลและคำสั่งได้ ทำให้สามารถทำงานไปได้โดยอัตโนมัติด้วยอัตราความเร็วที่สูงมาก ใช้ประโยชน์ในการคำนวณหรือการทำงานต่างๆได้เกือบทุกชนิด คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการคำนวณและประมวลผลข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยคุณสมบัติ 3 ประการ คือ
ความเร็ว (Speed) เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยความเร็วสูงมาก หน่วยความเร็วของการทำงานของคอมพิวเตอร์วัดเป็น
       - มิลลิเซกัน (Millisacond) ซึ่งเทียบความเร็วเท่ากับ 1/1,000 วินาที
       - ไมโครเซกัน (Microsecond) ซึ่งเทียบความเร็วเท่ากับ 1/1,000,000 วินาที
       - นาโนเซกัน (Nanosacond) ซึ่งเทียบความเร็วเท่ากับ 1/1,000,000,000 วินาที


หน่วยความจำ (Memory) เครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วยหน่วยความจำ สามารถใช้บันทึกและเก็บข้อมูลได้คราวละมากๆ สามารถเก็บคำสั่งต่อๆ กันที่เราเรียกว่า โปรแกรม และนำมาประมวลในคราวเดียวกัน ซึ่งเป็นปัจจัยทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานเก็บข้อมูลได้คราวละมากๆ และสามารถประมวลผลได้เร็วและถูกต้อง

         

ความสามารถในการเปรียบเทียบ (Logical) เครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหน่วยคำนวณและตรรกะ นอกจากจะมีความสามารถในการคำนวณแล้วยังมีความสามารถในการเปรียบเทียบ ความสามารถนี้เองที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างกับเครื่องคิดเลข และคุณสมบัตินี้ที่ทำให้นักคอมพิวเตอร์สร้างโปรแกรมอัตโนมัติขึ้นใช้อย่างกว้างขวาง คอมพิวเตอร์ยังมีความแม่นยำในการคำนวณ มีความเที่ยงตรงแม้จะทำงานเหมือนเดิมซ้ำกันหลายรอบ และสามารถติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ อีกด้วย
 

1.1.2 ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์

การใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์กระจายไปอยู่ในทุกวงการ
        - ด้านธุรกิจ ได้แก่การนำคอมพิวเตอร์มาประมวลงานด้านธุรกิจ
        - ด้านการธนาคาร ปัจจุบันทุกธนาคารจะนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้งานในองค์กรของตนเพื่อให้บริการลูกค้า
        - ด้านตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์เป็นศูนย์กลางการซื้อขายหลักทรัพย์ จะมีข้อมูลจำนวนมากและต้องการความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน
        - ธุรกิจโรงแรม ระบบคอมพิวเตอร์สามารถใช้ในการบริหารโรงแรม การจองห้องพัก การติดตั้งระบบ Online ตามแผนกต่างๆ
        - การแพทย์ มีการนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้อย่างกว้างขวาง เช่น ทะเบียนประวัติคนไข้,ระบบข้อมูลการให้ภูมิคุ้มกันโรค,สถิติด้านการแพทย์,ด้านการบัญชี
        - วงการศึกษา การนำคอมพิวเตอร์มาใช้กับสถาบันการศึกษาจะมี ระบบงานที่เกี่ยวกับ การเรียนการสอน การวิจัย การบริหาร
        - ด้านอุตสาหกรรมทั่วไป
        - ด้านธุรกิจสายการบิน สายการบินต่างๆทั่วโลกได้นำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้งานอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะงานการสำรองที่นั่งและเที่ยวบิน
        - ด้านการบันเทิง เช่น วงการภาพยนตร์ การดนตรี เต้นรำ

 

1.1.3 ความหมายและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

         เทคโนโลยีสารสนเทศ มาจากคำภาษาอังกฤษว่า Information Technology และมีผู้นิยมเรียกทับศัพท์ย่อว่า IT สุชาดา กีระนันท์ (2541) ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีทุกด้านที่เข้าร่วมกัน ในกระบวนการจัดเก็บสร้าง และสื่อสารสนเทศ ครรชิต มาลัยวงศ์ (2539) กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วยเทคโนโลยีที่สำคัญสองสาขาคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม โดยทั่วไปแล้วเทคโนโลยีสารสนเทศจะครอบคลุมถึงเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบันทึก จัดเก็บ ประมวลผลสืบค้น ส่งและรับข้อมูลในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรวมถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์จัดเก็บ บันทึกและค้นคืน เครือข่ายสื่อสาร ข้อมูล อุปกรณ์สื่อสารและโทรคมนาคม รวมทั้งระบบที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์เหล่านี้

ครรชิต มาลัยวงศ์ (2541) กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญ ดังนี้
                 1. สามารถจัดเก็บข้อมูลจากจุดเกิดได้อย่างรวดเร็ว
                 2. สามารถบันทึกข้อมูลจำนวนมากๆไว้ใช้งานหรือไว้อ้างอิงการดำเนินงานหรือการตัดสินใจใดๆ
                 3. สามารถคำนวณผลลัพธ์ต่างๆได้รวดเร็ว
                 4. สามารถสร้างผลลัพธ์ได้หลากหลายรูปแบบ
                 5. สามารถส่งสารสนเทศ ข้อมูล หรือผลลัพธ์ที่ได้จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างรวดเร็ว

 

1.2 ชนิดของคอมพิวเตอร์

เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆ โดยใช้ความแตกต่างจากขนาดของเครื่อง ความเร็วในการประมวลผล รวมทั้งราคาเป็นหลัก ซึ่งแบ่งได้เป็นดังนี้ คือ
 

1.2.1 ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Super Computer

เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆ โดยใช้ความแตกต่างจากขนาดของเครื่อง
ความเร็วในการประมวลผล รวมทั้งราคาเป็นหลัก ซึ่งแบ่งได้เป็นดังนี้ คือ


หมายถึง คอมพิวเตอร์เครื่องใหญ่ที่มีสมรรถนะสูง มีความเร็วในการทำงาน และประสิทธิ
ภาพสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ชนิดอื่นๆ มีราคาแพงมาก มีขนาดใหญ่ สามารถคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้หลายแสนล้านครั้งต่อวินาที และได้รับการออกแบบเพื่อให้ใช้แก้ปัญหาขนาดใหญ่มากได้อย่างรวดเร็ว เช่น การพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็นเวลาหลายวัน งานควบคุมขีปนาวุธ งานควบคุมทางอวกาศ งานประมวลผลภาพทางการแพทย์ งานด้านวิทยาศาสตร์เคมี งานทำแบบจำลองโมเลกุลของสารเคมี งานด้านวิศวกรรมการออกแบบ งานวิเคราะห์โครงสร้างอาคารที่ซับซ้อน ซึ่งหากใช้คอมพิวเตอร์ชนิดอื่นๆ แก้ไขปัญหาประเภทนี้ อาจจะต้องใช้เวลาในการคำนวณหลายปีกว่าจะเสร็จสิ้น ในขณะที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์สามารถแก้ไขปัญหาได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น

         

ซูเปอร์คอมพิวเตอร์จึงมีหน่วยความจำที่ใหญ่มากๆ สามารถทำงานหลายอย่างได้พร้อมๆ กัน โดยที่งานเหล่านั้นอาจจะเป็นงานที่แตกต่างกัน อาจจะเป็นงานใหญ่ที่ถูกแบ่งย่อยไปให้หน่วยประมวลผลแต่ละตัวทำงานก็ได้ และยังใช้โครงสร้างการคำนวณแบบขนานที่เรียกว่า เอ็มพีพี (Massively Parallel Processing : MPP) ซึ่งเป็นการคำนวณที่กระทำกับข้อมูลหลายๆ ตัวหรือหลายๆ งานในเวลาเดียวกันได้พร้อมๆ กันเป็นจำนวนมาก ทำให้มีความสามารถในการทำงานแบบมัลติโปรเซสซิง (Multiprocessing) หรือความสามารถในการทำงานหลายงานพร้อมๆกันได้ ดังนั้น จึงมีผู้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (High Performance Computer)

ความเร็วในการคำนวณของซูเปอร์คอมพิวเตอร์จะมีการวัดหน่วยเป็น นาโนวินาที (nanosecond) หรือเศษหนึ่งส่วนพันล้านวินาที และ กิกะฟลอป (gigaflop) หรือการคำนวณหนึ่งพันล้านครั้งในหนึ่งวินาที ปัจจุบันประเทศไทย มีเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Cray YMP ใช้ในงานวิจัย อยู่ที่ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์สมรรถภาพสูง (HPCC) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ผู้ใช้เป็นนักวิจัยด้านวิศวกรรม และวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
 

1.2.2 เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ Mainframe Computer

หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีสมรรถะสูง แต่ยังต่ำกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ มีความเร็วสูงมาก มีหน่วยความจำขนาดมหึมา เมนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถให้บริการผู้ใช้จำนวนหลายร้อยคน ที่ใช้โปรแกรมที่แตกต่างกันนับร้อยพร้อมๆ กันได้ เหมาะกับการใช้งานทั้งในด้านวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ และธุรกิจ โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลจำนวนมากๆ

เครื่องเมนเฟรมได้รับการพัฒนาให้มีหน่วยประมวลผลหลายหน่วยพร้อมๆ กันเช่นเดียวกับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ แต่จะมีจำนวนหน่วยประมวลที่น้อยกว่า และเครื่องเมนเฟรมจะวัดความเร็วอยู่ในหน่วยของ เมกะฟลอป (Megaflop) หรือการคำนวณหนึ่งล้านครั้งในหนึ่งวินาที
         
ข้อเด่นของการใช้เมนเฟรมจึงอยู่ที่งานที่ต้องการให้มีระบบศูนย์กลาง และกระจายการใช้งานไปเป็นจำนวนมากเช่น ระบบเอทีเอ็มซึ่งเชื่อมต่อกับฐาน เครื่องเมนเฟรมจะเก็บโปรแกรมของผู้ใช้เหล่านั้นไว้ในหน่วยความจำหลัก และมีการสับเปลี่ยนหรือสวิทช์การทำงานระหว่างโปรแกรมต่างๆ เหล่านั้นอย่างรวดเร็ว โดยที่ผู้ใช้จะไม่รู้สึกเลยว่าเครื่องเมนเฟรมที่ใช้ มีการสับเปลี่ยนการทำงานไปทำงานของผู้ใช้คนอื่นๆ อยู่ตลอดเวลา หลักการที่เครื่องเมนเฟรมสามารถทำงานหลายโปรแกรมพร้อมๆ กันนั้นเรียกว่า มัลติโปรแกรม-มิง (Multiprogramming)

 

1.2.3 มินิคอมพิวเตอร์

หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง มีสมรรถนะต่ำกว่าเครื่องเมนเฟรม แต่สูงกว่าเวิร์คสเตชัน จุดเด่นที่สำคัญ คือ ราคาย่อมเยากว่าเมนเฟรม และการใช้งานใช้บุคลากรไม่มากนักมินิคอมพิวเตอร์เริ่มพัฒนาขึ้นใน ค.ศ. 1960 ต่อมาบริษัท Digital Equipment Corporation หรือ DEC ได้ ประกาศตัวมินิ คอมพิวเตอร์ DEC PDP-8 (Programmed Data Processor) ในปี ค.ศ.1965
         
         ซึ่งได้รับความนิยมจากบริษัทหรือองค์กรที่มีขนาดกลาง เพราะมีราคาถูกกว่าเครื่องเมนเฟรมมากเครื่องมินิ คอมพิวเตอร์ใช้หลักการของมัลติโปรแกรมมิงเช่นเดียวกับเครื่องเมนเฟรม โดยจะสามารถรองรับผู้ใช้ได้นับร้อยคนพร้อมๆกัน แต่เครื่องมินิคอมพิวเตอร์จะทำงานได้ช้ากว่า การควบคุมผู้ใช้งานต่างๆ ทำน้อยกว่า สื่อที่เก็บข้อมูลมีความจุไม่สูงเท่าเมนเฟรม




การทำงานบนเครื่องเมนเฟรมหรือมินิคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้จะสามารถควบคุมการรับข้อมูลและดูการแสดงผลบนจอภาพได้เท่านั้น ไม่สามารถควบคุมอุปกรณ์รอบข้างอื่นๆ ได้ แต่การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ชนิดที่มีผู้ใช้คนเดียวนั้น ผู้ใช้สามารถควบคุมอุปกรณ์รอบข้างต่างๆ ได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นหน่วยรับข้อมูลหน่วยประมวลผล หน่วย แสดงผล ตลอดจนหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง สามารถเลือกใช้โปรแกรมได้ โดยไม่ต้องกังวลว่าจะต้องไปแย่งเวลาการเรียกใช้ข้อมูลกับผู้ใช้อื่น
 

1.2.4 เวิร์คสเตชั่น และไมโครคอมพิวเตอร์

         
          คอมพิวเตอร์สำหรับผู้ใช้คนเดียว สามารถแบ่งออกเป็นสองรุ่น คือ เวิร์คสเตชัน หมายถึง คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ถูกออกแบบมาให้เป็นคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ สามารถทำงานพร้อมกันได้หลายงาน และประมวลผลเร็วมาก มีความสามารถในการคำนวณด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม หรืองานอื่นๆ ที่เน้นการแสดงผลด้านกราฟิก เช่น นำมาช่วยในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อออกแบบชิ้นส่วน เป็นต้น ซึ่งจากการที่ต้องทำงานกราฟิกที่มีความละเอียดสูง ทำให้เวิร์คสเตชันใช้หน่วยประมวลผลที่มีประสิทธิภาพมาก รวมทั้งมีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองจำนวนมากด้วย เวิร์คสเตชันส่วนมากใช้ชิปประเภท RISC (Reduce instruction set computer) ซึ่งเป็นชิปที่ลดจำนวนคำสั่งที่สามารถใช้สั่งงานให้เหลือเฉพาะที่จำเป็น เพื่อให้สามารถทำงานได้ด้วยความเร็วสูง
     
         ไมโครคอมพิวเตอร์ หมายถึง คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก และใช้งานคนเดียว เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) จัดว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ทั้งระบบใช้งานครั้งละคนเดียว หรือใช้งานในลักษณะเครือข่าย แบ่งได้หลายลักษณะตามขนาด เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแบบตั้งโต๊ะ (Personal Computer) หรือแบบพกพา (Portable Computer)

 

1.3 การทำงานของคอมพิวเตอร์

      คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อช่วยให้ทำงานได้เร็ว สะดวก และแม่นยำมากขึ้น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานอย่างได้มีประสิทธิภาพ จึงต้องเรียนรู้ และเข้าใจ ส่วนประกอบ วิธีการทำงานของ คอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนสำคัญคือ
      ขั้นตอนที่ 1 การรับข้อมูลและคำสั่ง คอมพิวเตอร์รับข้อมูลและคำสั่งผ่านอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล คือ เมาส์ คีย์บอร์ด สแกนเนอร์ ไมโครโฟน ฯลฯ
      ขั้นตอนที่ 2 การประมวลผลหรือคิดคำนวณ ข้อมูลที่คอมพิวเตอร์รับเข้ามา จะถูกประมวลผลโดยการทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU: Central Processing Unit) ตามคำสั่งของโปรแกรม หรือซอฟต์แวร์ การประมวลผลข้อมูล เช่น นำข้อมูลมาบวก ลบ คูณ หาร ทำการเรียงลำดับข้อมูล นำข้อมูลมาจัดกลุ่ม นำข้อมูลมาหาผลรวม เป็นต้น
       ขั้นตอนที่ 3 การแสดงผลลัพธ์ คอมพิวเตอร์จะแสดงผลลัพธ์ของข้อมูลที่ป้อน หรือแสดงผลจากการประมวลผล ทางจอภาพ (Monitor) เครื่องพิมพ์ (Printer) หรือลำโพง
       ขั้นตอนที่ 4 การเก็บข้อมูล คอมพิวเตอร์จะทำการเก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลไว้ในหน่วยเก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นบันทึกข้อมูล (Floppy disk) ซีดีรอม เพื่อให้สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ในอนาคต

 

1.3 การทำงานของคอมพิวเตอร์

      คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อช่วยให้ทำงานได้เร็ว สะดวก และแม่นยำมากขึ้น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานอย่างได้มีประสิทธิภาพ จึงต้องเรียนรู้ และเข้าใจ ส่วนประกอบ วิธีการทำงานของ คอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนสำคัญคือ
      ขั้นตอนที่ 1 การรับข้อมูลและคำสั่ง คอมพิวเตอร์รับข้อมูลและคำสั่งผ่านอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล คือ เมาส์ คีย์บอร์ด สแกนเนอร์ ไมโครโฟน ฯลฯ
      ขั้นตอนที่ 2 การประมวลผลหรือคิดคำนวณ ข้อมูลที่คอมพิวเตอร์รับเข้ามา จะถูกประมวลผลโดยการทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU: Central Processing Unit) ตามคำสั่งของโปรแกรม หรือซอฟต์แวร์ การประมวลผลข้อมูล เช่น นำข้อมูลมาบวก ลบ คูณ หาร ทำการเรียงลำดับข้อมูล นำข้อมูลมาจัดกลุ่ม นำข้อมูลมาหาผลรวม เป็นต้น
       ขั้นตอนที่ 3 การแสดงผลลัพธ์ คอมพิวเตอร์จะแสดงผลลัพธ์ของข้อมูลที่ป้อน หรือแสดงผลจากการประมวลผล ทางจอภาพ (Monitor) เครื่องพิมพ์ (Printer) หรือลำโพง
       ขั้นตอนที่ 4 การเก็บข้อมูล คอมพิวเตอร์จะทำการเก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลไว้ในหน่วยเก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นบันทึกข้อมูล (Floppy disk) ซีดีรอม เพื่อให้สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ในอนาคต

 

1.4.1 จอภาพ (Monitor)

               อาจเรียกทับศัพท์ว่า มอนิเตอร์ (Monitor), สกรีน (Screen), ดิสเพลย์ (Display) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แสดงผลทั้งข้อความ ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว จอภาพในปัจจุบันส่วนมากใช้จอแบบหลอดภาพ (CRT หรือ Cathode Ray Tube) เหมือนจอภาพของเครื่องรับโทรทัศน์ และจอแบบผลึกเหลว (LCD หรือ Liquid Crystal Display) มีลักษณะเป็นจอแบน
1.4.2 ตัวเครื่อง (Computer Case)

เป็นส่วนที่เก็บอุปกรณ์หลักของคอมพิวเตอร์ เช่น CPU, Disk Drive, Hard Disk ฯลฯ
1.4.3. คีย์บอร์ด (Keyboard) 

                  หรือแป้นพิมพ์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้พิมพ์คำสั่ง หรือป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ คีย์บอร์ดมีลักษณะคล้ายแป้นพิมพ์ดีด แต่จะมีปุ่มพิมพ์มากกว่า
 

1.4.4 เมาส์ (Mouse)

                   

                  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการชี้ตำแหน่งต่างๆบนจอภาพ ซึ่งจะเป็นการสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เช่นเดียวกับการป้อนคำสั่งทางคีย์บอร์ด เมื่อเลื่อนเมาส์ไปมาจะทำให้เครื่องหมายชี้ตำแหน่งบนจอภาพ (Cusor) เลื่อนไปในทิศทางเดียวกันกับที่เลื่อนเมาส์นั้น
1.4.5 เครื่องพิมพ์ (Printer)
                 เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แสดงผลข้อมูลออกมาทางกระดาษ เครื่องพิมพ์มีหลายแบบ เช่น เครื่องพิมพ์จุด (Dot Matrix Printer) เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer) และเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Inkjet Printer) เป็นต้น
1.4.6 สแกนเนอร์ (Scanner)

                 เป็นอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล โดยเอารูปภาพหรือข้อความมาสแกน แล้วจัดเก็บไว้เป็นไฟล์ภาพ เพื่อนำไปใช้งานต่อไป เครื่องสแกนมีทั้งชนิด อ่านได้เฉพาะภาพขาวดำ และชนิดอ่านภาพสีได้ นอกจากนี้ยังมีชนิดมือถือ



ผู้เขียน : Admin
โพสต์เมื่อ : 07 ธ.ค. 2561
ป้ายกำกับ : ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

No comments yet
ความคิดเห็น
^